คุณสมบัติ EKOBLOK

น้ำหนักเบา
คุณสมบัติของ EKOBLOK ที่มีน้ำหนักเบาทำให้สามารถประหยัดโครงสร้างและประหยัดเวลาก่อสร้าง
ตารางเปรียบเทียบน้ำหนักของผนัง EKOBLOK และผนังก่ออิฐมอญฉาบปูน ( 1 ตารางเมตร)

ความหนาของผนัง (ซม.) ผนังEKOBLOK
( กิโลกรัม/ ตร.ม.)
ผนังก่ออิฐมอญฉาบปูน
( กิโลกรัม/ ตร.ม.)
10 110 – 120 (EKOBLOK 7,7.5 ซม.) 180 – 200
16 – 17 160 – 170 (EKOBLOK 14 ซม.) 310 – 330 (ก่ออิฐ 2 แถว)
21 – 22 210 – 220 (EKOBLOK 19 ซม.) 330 – 350 (ก่ออิฐ 2 แถว)

กันความร้อนและประหยัดพลังงาน
ผนัง EKOBLOK มีค่าสัมประสิทธิการนำความร้อนน้อยกว่าผนังก่ออิฐมอญประมาณ 10 เท่ามีผลทำให้ความร้อนผ่านผนังเข้าสู่ภายในอาคารน้อยกว่า จึงทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการปรับอากาศภายในอาคาร

Unit Watts/m.K
ค่าสัมประสิทธิการนำความร้อนของ EKOBLOK
(วัตต์/เมตร.องศาเคลวิน)
 0.118
ค่าสัมประสิทธิการนำความร้อนของคอนกรีตมวลเบา
(วัตต์/เมตร.องศาเคลวิน)
0.13 – 0.15
ค่าสัมประสิทธิการนำความร้อนของผนังก่ออิฐมอญ
(วัตต์/เมตร.องศาเคลวิน)
1.12 – 1.15

ทนไฟ
ผนัง EKOBLOK มีคุณสมบัติในการทนไฟได้นานกว่าผนังก่ออิฐมอญ ทำให้เหมาะในการก่อผนังของอาคารสูงและอาคารที่ใช้ผนังร่วมกันเช่น condominium , town-house, อาคารพาณิชย์ , อพาร์ตเม้นต์ , โรงงาน

ผนัง EKOBLOK พร้อมฉาบผิว(สองด้าน)หนา 10 ซม. ทดสอบการทนไฟตามมาตรฐานของอังกฤษ โดยการเผาไฟที่อุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 4 ชั่วโมง (ระยะเวลาทดสอบที่นานที่สุดตามมาตรฐาน) ไม่ปรากฎการเสียหายหรือแตกร้าวจนทำให้ไฟผ่านผนังได้ ในขณะที่ผนังก่ออิฐมอญฉาบปูนหนา 10 ซม.จะทนไฟได้เพียง 1-2 ชั่วโมงผนังจะแตกร้าวทำให้เปลวไฟผ่านผนังไปอีกข้างหนึ่งได้เนื่องจากผนังก่ออิฐมอญประกอบด้วยอิฐมอญที่เป็นวัสดุดินเผาประมาณ 50% และเป็นปูนผสมทราย(ปูนก่อ)อีกประมาณ 50% เมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัวไม่เท่ากัน ก่อให้เกิดรอยแตกร้าวจนทำให้ความร้อนและเปลวไฟผ่านไปได้
ในขณะที่ผนัง EKOBLOK จะประกอบด้วย EKOBLOK 89% และปูนผสมทราย (ปูนก่อ) 11% ความแตกต่างของการขยายตัวเมื่อได้รับความร้อนจะมีน้อยกว่า จึงทำให้ทนไฟได้นานกว่า
ผนังก่ออิฐมอญหนา 10 ซม. ทนไฟที่อุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส ได้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง

ผนังกันเสียง
ผนัง EKOBLOK มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงได้ดีกว่าผนังก่ออิฐมอญฉาบปูน ทำให้เหมาะในการก่อผนังของอาคารที่ใช้ร่วมกันเช่น คอนโดมิเนียม,โรงแรม, อพาร์ตเม้นต์, ห้องประชุมสัมนา, อาคารเรียน และอาคารที่อยู่ในบริเวณที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมทางเสียง
ผลการทดสอบการลดลงของเสียงผ่านผนัง EKOBLOK (หนา 10 ซม.) ได้ค่า 40 dB
การลดลงของเสียงเมื่อผ่านผนังก่ออิฐมอญฉาบปูน (หนา 10 ซม.) ได้ค่า 36-36 dB
( The Airborne Sound Transmission-Loss Measurements of The EKOBLOK Concrete Wall, ศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย )

แข็งแรง ยึดเกาะตะปูได้ดี
ผนัง EKOBLOK มีความแข็งแรงและยึดเกาะตะปูได้ดี เพราะส่วนผสมมีขนาดเล็กละเอียดมากและผลิตโดยเครื่องอัดไฮโดรลิกส์ทำให้มีความหนาแน่นมาก สามารถใช้ตะปูเกลียวไขเข้าไปในก้อนบล็อกได้โดยตรงก็สามารถแขวนของหนักได้ แต่เนื่องจากมีการฉาบผิวด้วยปูนทรายจึงควรใช้ร่วมกับพุกคอนกรีต
EKOBLOK ขนาดความหนา 7.5 ซม. สามารถรับแรงกดได้ไม่น้อยกว่า 7 ตัน

EKOBLOK เปรียบเทียบกับ การก่ออิฐมอญ
ประหยัดค่าใช้จ่าย
การก่อผนัง EKOBLOK ก่อด้วยปูนก่อสำเร็จรูป และ ฉาบด้วยปูนฉาบสำเร็จรูป เหมือนผนังก่ออิฐมอญ

ปริมาณปูนก่อและปูนฉาบ ของผนัง EKOBLOk และผนังก่ออิฐมอญ ใน 1 ตารางเมตร

ผนังอิฐมอญ EKOBLOK
ปูนก่อสำเร็จรูป (กก.) 58.90 14.30
ปูนฉาบสำเร็จรูป (กก.) 64.75 55.50

ประหยัดค่าแรง
EKOBLOK : ใช้ 12 ก้อนต่อตารางเมตร น้ำหนักรวมปูนก่อและฉาบ 110-115 กก.
อิฐมอญ : ใช้ 130 ก้อนต่อตารางเมตร น้ำหนักรวมปูนก่อและฉาบ 180-200 กก.

EKOBLOK เปรียบเทียบกับ คอนกรีตมวลเบา
ประหยัดวัสดุ
การก่อผนัง EKOBLOK ก่อด้วยปูนก่อสำเร็จรูป และ ฉาบด้วยปูนฉาบสำเร็จรูป เหมือนผนังก่ออิฐมอญ
การก่อและฉาบผนังคอนกรีตมวลเบาต้องใช้ปูนก่อและปูนฉาบที่มีสารเคมีเฉพาะซึ่งราคาแพงกว่าปูนก่อและ ฉาบผนังก่ออิฐมอญ

ลดการแตกลายงาบนผิวปูนฉาบ
ผนัง EKOBLOK 1 ตารางเมตรใช้ 12 ก้อนคิดเป็นพื้นที่ 89% ส่วนที่เหลือเป็นปูนก่อ(ปูนซิเมนต์ผสมทราย)คิดเป็นพื้นที่ 11% ทั้ง EKOBLOK และปูนก่อมีปูนซิเมนต์และทรายเป็นส่วนผสมเหมือนกัน เมื่อผนังได้รับความร้อนสัมประสิทธิการขยายตัวของ EKOBLOK และปูนก่อใกล้เคียงกัน โอกาสที่จะทำให้มีรอยแตกร้าวบนผิวปูนฉาบจะน้อย
EKOBLOK มีการดูดซับน้ำประมาณ 21-23% ทำให้ผิวปูนฉาบแห้งช้า ปูนซิเมนต์ได้รับน้ำเพียงพอที่จะแข็งตัวได้สมบูรณ์จึงทำให้มีโอกาสแตกลายงาน้อย
ผนังก่ออิฐมอญ 1 ตารางเมตรใช้อิฐประมาณ 130 ก้อนคิดเป็นพื้นที่ 50% ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจะเป็นปูนก่อ(ปูนซิเมนต์ผสมทราย) อิฐมอญและปูนก่อเป็นวัสดุที่แตกต่างกัน ก่อสลับกันอย่างละครึ่งหนึ่ง เมื่อได้รับความร้อนก็จะมีสัมประสิทธิการขยายตัวแตกต่างกัน จึงทำให้ผิวปูนฉาบมีโอกาสแตกลายงาได้มาก
ผนังก่ออิฐมอญส่วนที่เป็นปูนก่อซึ่งมีอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งนั้น มีการดูดซับน้ำมากกว่า 30% ทำให้ปูนซิเมนต์ในผิวปูนฉาบอาจสูญเสียน้ำให้กับปูนก่อ จึงทำให้มีน้ำไม่พอเพียงในการเกิดปฎิกริยาการแข็งตัวของปูนซิเมนต์ มีผลทำให้มีโอกาสแตกร้าวบนผิวปูนฉาบได้มาก

เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดโลกร้อน
• วัตถุดิบ 50% เป็นรีไซเคิล
• ขั้นตอนการผลิต ไม่มีกระบวนการเผาหรือการอบไอน้ำ
• ผลิตภัณฑ์เป็นฉนวนกันความร้อน

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on email