Search Intent หรือที่แปลตรงตัวก็คือเจตนาในการค้นหาของผู้ใช้งาน แล้วสำคัญอย่างไรกับการทำ SEO? ก็ถ้าจะพูดถึงการทำ SEO หลายคนอาจคิดถึงการเลือกคีย์เวิร์ดที่มีปริมาณการค้นหาสูง การสร้าง Backlink หรือการปรับแต่งเว็บไซต์ให้เป็นมิตรกับ Google แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน และมีผลต่อการจัดอันดับของเว็บไซต์นั้นก็คือ Search Intent ที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะการเข้าใจเจตนาความต้องการของผู้ใช้งาน จะช่วยให้เราสามารถปรับแต่งเนื้อหา และกลยุทธ์ SEO ให้ตรงกับสิ่งที่ผู้ค้นหาต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Search Intent คืออะไร?
Search Intent หรือ เจตนาในการค้นหา คือเป้าหมายหรือความต้องการที่อยู่เบื้องหลังการค้นหาของผู้ใช้งานบน Search Engine พูดง่าย ๆ ก็คือ ผู้ใช้งานพิมพ์คำค้นหา (Keywords) เข้าไปในช่องค้นหาด้วยเหตุผลบางอย่าง เช่น ต้องการหาข้อมูล ต้องการซื้อสินค้า ต้องการไปยังเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง หรือต้องการทำบางสิ่งบางอย่าง การทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมีเจตนาอะไรจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเนื้อหาที่ตอบโจทย์ และทำให้ Search Engine เข้าใจว่าเว็บไซต์ของคุณมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ใช้งานกำลังมองหาอยู่
ประเภทของ Search Intent
เจตนาการค้นหาของคนค้นหามี 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
- Informational Intent (เจตนาเพื่อให้ข้อมูล)
ผู้ใช้งานที่มีเจตนานี้ต้องการค้นหาข้อมูล ความรู้ หรือคำตอบสำหรับคำถามต่าง ๆ มักจะใช้คำค้นหาที่เป็นคำถาม เช่น “วิธีทำอาหารคลีน” “ความหมายของคำว่า SEO” “ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง” หรืออาจเป็นวลีที่ต้องการข้อมูล เช่น “เคล็ดลับการดูแลผิวหน้า” “รีวิวโทรศัพท์มือถือรุ่นล่าสุด” - Navigational Intent (เจตนาเพื่อไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการ)
การค้นหาที่ต้องการไปยังเว็บไซต์หรือหน้าเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งโดยเฉพาะ พวกเขาอาจจะรู้จักชื่อเว็บไซต์อยู่แล้วแต่ไม่ต้องการพิมพ์ URL ทั้งหมด หรืออาจจะต้องการค้นหาหน้า Login ของบริการต่าง ๆ มักจะใช้คำค้นหาที่เป็นชื่อแบรนด์ เช่น “Facebook Login” ” TikTok” “YouTube Studio” - Transactional Intent (เจตนาเพื่อซื้อ)
ค้นหาเพื่อต้องการที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง เช่น ซื้อสินค้า สมัครสมาชิก ดาวน์โหลดไฟล์ หรือจองบริการต่าง ๆ มักจะใช้คำค้นหาที่มีคำบ่งบอกถึงการกระทำ เช่น “ซื้อรองเท้าวิ่งราคาถูก” “สมัคร Netflix ฟรี” “ดาวน์โหลดโปรแกรมแต่งรูป” “จองตั๋วเครื่องบินไปเชียงใหม่” - Commercial Intent (เจตนาเพื่อตัดสินใจ)
ผู้ใช้งานที่มีเจตนานี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา และเปรียบเทียบสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ พวกเขาอาจจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติ ราคา รีวิว หรือข้อดีข้อเสียของสินค้าหรือบริการที่สนใจ มักจะใช้คำค้นหาที่มีคำเปรียบเทียบ เช่น ” SEO VS SEM” “รีวิวโรงแรมในพัทยา” “ประกันรถยนต์ที่ไหนดี”
ความสำคัญของ Search Intent ต่อการสร้างคอนเทนต์
นี่คือเหตุผลว่าทำไม Search Intent ถึงมีความสำคัญต่อการสร้างคอนเทนต์ ดังนี้
- ช่วยให้สร้างเนื้อหาที่ตรงใจผู้ใช้งาน
เมื่อเรารู้ว่าผู้ใช้งานต้องการอะไรจากการค้นหา เราก็จะสามารถสร้างเนื้อหาที่ตอบสนองความต้องการนั้นได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นบทความให้ข้อมูล รายละเอียดสินค้า หน้า Landing Page หรือเครื่องมือต่าง ๆ
- เพิ่มโอกาสในการติดอันดับที่ดีขึ้น
Search Engine อย่าง Google ให้ความสำคัญกับการมอบผลลัพธ์การค้นหาที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด หากเว็บไซต์ของเราสามารถตอบสนอง Search Intent ได้อย่างดีก็จะมีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่สูงขึ้น - เพิ่ม Click-Through Rate (CTR) เมื่อเขียน Meta Tags
Meta Title และ Meta Description คือข้อความสั้น ๆ ที่แสดงในหน้าผลการค้นหา หากเราสามารถเขียน Meta Tags ที่สื่อถึงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ของเราได้อย่างชัดเจน และตรงกับ Search Intent ของผู้ใช้งาน พวกเขาก็จะมีแนวโน้มที่จะคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ของเรามากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่ม CTR นั่นเอง - ลดอัตราการตีกลับ (Bounce Rate)
หากผู้ใช้งานเข้ามายังเว็บไซต์ของเราแล้วพบว่าเนื้อหาไม่ตรงกับสิ่งที่พวกเขากำลังมองหา พวกเขามักจะออกจากเว็บไซต์ไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลเสียต่ออันดับ SEO การสร้างเนื้อหาที่ตรงกับ Search Intent จะช่วยลดอัตราการตีกลับได้ - ปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้งาน (User Experience) การมอบเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพวกเขา ทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกในอนาคต
วิธีการใช้ Search Intent ในการวางกลยุทธ์ SEO
การนำ Search Intent มาใช้ในการวางกลยุทธ์ SEO จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณสามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้อย่างตรงจุด และมีโอกาสติดอันดับที่ดีขึ้นใน Google โดยมีแนวทางสำคัญดังนี้
- วิเคราะห์คำค้นหา (Keyword Research)
นอกจากการดูปริมาณการค้นหา และความยากง่ายในการแข่งขันแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาถึง Search Intent ที่อยู่เบื้องหลังคำค้นหานั้น ๆ ตัวอย่างเช่น หากคำค้นหาคือ “วิธีทำเค้ก” แสดงว่าผู้ใช้งานมี Informational Intent เราก็ควรสร้างบทความสอนทำเค้กอย่างละเอียด แต่ถ้าคำค้นหาคือ “ซื้อเครื่องทำเค้กราคาถูก” แสดงว่าผู้ใช้งานมี Transactional Intent เราก็ควรสร้างหน้าสินค้าที่มีรายละเอียด และราคาของเครื่องทำเค้ก - ตรวจสอบผลการค้นหา SERP
ลองค้นหาคำหลักที่เราสนใจบน Google แล้วดูว่าผลลัพธ์ที่ปรากฏในหน้าแรก ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาประเภทใด (เช่น บทความ วิดีโอ หน้าสินค้า) สิ่งนี้จะช่วยให้เราเข้าใจว่า Google มองว่า Search Intent ของคำหลักนั้นคืออะไร และเราควรสร้างเนื้อหาในรูปแบบใด เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ - ปรับแต่ง On-Page SEO ให้เหมาะสมกับ Search Intent
การปรับแต่ง On-Page SEO เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เนื้อหาของคุณตรงกับเจตนาของผู้ค้นหา โดยเริ่มจากการใช้คีย์เวิร์ดหลัก ใน Title, Meta Description, URL และ H1 เพื่อให้ Google เข้าใจว่าเนื้อหาของคุณเกี่ยวข้องกับอะไร นอกจากนี้ควรจัดโครงสร้างเนื้อหาให้เป็นระเบียบ โดยใช้ Heading Tags (H1, H2, H3) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้และ Google เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เพิ่ม รูปภาพ วิดีโอ และ Internal Links เพื่อเสริมประสบการณ์การใช้งาน และใช้ Schema Markup เช่น FAQ หรือ Review Schema เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ของคุณโดดเด่นในผลการค้นหา
อ่านบทความเพิ่มเติม: คู่มือ H1 Heading ทำ SEO ให้ปัง! ไม่ใช่แค่ Title ธรรมดา https://www.bizsoft.co.th/article/คู่มือ-h1-heading-ทำ-seo-ให้ปัง/
- ปรับปรุงเนื้อหาที่มีอยู่
ตรวจสอบเนื้อหาเก่า ๆ บนเว็บไซต์ของเราว่ายังคงตอบสนอง Search Intent ของคำหลักที่เกี่ยวข้องอยู่หรือไม่ หากไม่ ก็ควรปรับปรุงหรือสร้างเนื้อหาใหม่ให้สอดคล้องกับเจตนาของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยสรุปแล้ว Search Intent หรือเจตนาในการค้นหาของผู้ใช้งาน ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการทำ SEO เพราะการที่เรารู้ว่าผู้ใช้งานต้องการอะไรจากการค้นหา จะช่วยให้เราสามารถสร้างสรรค์เนื้อหาที่ตอบโจทย์ ตรงประเด็น และมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับพวกเขาได้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้เว็บไซต์ไต่อันดับขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งที่ดีขึ้นบนผลการค้นหาเท่านั้น แต่ยังช่วยดึงดูดผู้เข้าชมที่มีคุณภาพ และเพิ่มโอกาสในการบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจอีกด้วย
หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการรับทำ SEO และการทำ Online Marketing ติดต่อ Bizsoft เลยวันนี้เพื่อรับคำปรึกษาฟรี! พร้อมยกระดับเว็บไซต์ของคุณสู่หน้าแรก Google และการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน